เคล็ดลับก้นครัวเคล็ดลับอื่นๆ 17 มี.ค. 68

ข้อควรรู้ในการรับประทานลูกเนียง

Share :

ชอบกิน! ต้องรู้ เรื่องนี้ข้อควรรู้ในการรับประทานลูกเนียง

ลูกเนียง หรือชะเนียง เป็นพืชตระกูลถั่ว ผลเป็นฝักใหญ่ ในหนึ่งฝักออาจมี 10-14 เมล็ด เนื้อในเมล็ดใช้บริโภค เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองนวล มีรสมันกรอบ กลิ่นฉุน  รับประทานได้ทั้งผลอ่อนและแก่ กับน้ำพริก หรือ นำไปแกง หรือนํามาต้มทําของหวาน

1 ประโยชน์ของลูกเนียง  ประกอบด้วยธาตุและสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ในลูกเนียงประกอบด้วยแป้งร้อยละ 70 โปรตีนร้อยละ 15 นอกจากนี้ประกอบด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินบี 1 บี 12 วิตามินซี ฟอสฟอรัส กำมะถัน กรดโฟลิค กรดอะมิโน 12 ชนิด ลูกเนียงมีสรรพคุณในด้านช่วยควบคุมเบาหวาน และขับปัสสาวะ

2 ในลูกเนียงมี “กรดแจงโคลิค” ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกรดกำมะถันสูงมาก และเป็นพิษต่อร่างกาย สารเป็นพิษชนิดนี้จะทำลายระบบประสาทของไตให้เสื่อมลง ถ้ารับประทานลูกเนียงดิบเป็นจำนวนมาก จะมีอาการทางไต ปวดบริเวณขาหนีบ ปัสสาวะลําบากและปวดปัสสาวะมาก ปัสสาวะขุ่นขาวเป็นสีน้ำนม อาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรงได้   อาการที่เกิดขึ้นนี้ ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เนียงมัด” ซึ่งหากมีอาการมาก จะส่งผลให้ระบบไตล้มเหลว และเสียชีวิตได้

3  ปริมาณที่รับประทานแล้วเกิดพิษ ไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ เพราะบางคนรับประทานแค่นิดเดียวก็มีอาการแล้ว แต่สำหรับบางคน แม้จะทานจำนวนมาก ก็ไม่เกิดปัญหา

หมายเหตุ

ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันพิษของลูกเนียง ก่อนนำมารับประทาน ดังนี้

  1. ให้นำลูกเนียงมาเพาะในทรายให้หน่องอกแล้วตัดหน่อทิ้งเสีย พิษของลูกเนียงจะลดน้อยลง
  2. หั่นลูกเนียงเป็นแผ่นบาง ๆ ตากแดดให้หมาดก่อนจะนำมารับประทาน พิษของมันจะลดลง
  3. ต้มลูกเนียงในน้ำที่ผสมด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือเบกกิ้งโซดา นาน 10 นาที จะทำให้กรดแจงโคลิคลดลงครึ่งหนึ่ง

วิธีรักษาพยาบาลเบื้องต้น สำหรับผู้ป่วยที่แพ้พิษลูกเนียง  ให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อจะได้ละลายผลึกที่ตกค้าง และขับออกมาทางท่อปัสสาวะ