บทความครัวคุณต๋อยอยากบอก19 มิ.ย. 63

“ข้าวคำ น้ำคำ” ไม่ดีจริงเหรอ ?

Share :

“ข้าวคำ น้ำคำ” ไม่ดีจริงเหรอ ?

เชื่อว่าทุกคนต้องเคยได้ยินคำนี้กันแน่ ๆ ครับ กับคำพูดที่ว่า “อย่ากินข้าวคำ น้ำคำ” วันนี้เราจะไปหาคำตอบกันครับว่า จริง ๆ แล้ว จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อกินข้าวคำน้ำคำ

บางคนก็บอกว่า การดื่มน้ำระหว่างมื้อจะทำให้ กรดในกระเพราะถูกเจือจาง จะทำให้อาหารไม่ย่อย มีบางกระแสถึงกับบอกเลยว่าควรงดการดื่มน้ำก่อนและหลังมื้ออาหารเป็นเวลา 30 นาที หรือบ้างก็บอกว่าการดื่มน้ำมากไปก็จะทำให้อิ่มง่าย ซึ่งอีกครู่เดียวก็จะกลับมาหิวอีก กลายเป็นต้องหาอาหารมากินอีก ซึ่งก็อาจจะเป็นการกินเกินความจำเป็นทำให้อ้วนขึ้นได้ แต่ บางคนก็บอกว่าการดื่มน้ำระหว่างมื้อ จะทำให้ อาหารถูกย่อยสลาย และ ถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้ดีขึ้น จึงควรดื่มน้ำระหว่างมื้อ

ภาพจาก Racool_studio – freepik .com

แล้ววิทยาศาสตร์ว่าอย่างไร ?

จากข้อมูลของ https://www.healthline.com/nutrition/drinking-with-meals ผู้เขียนจึงอยากสรุปข้อมูลมาให้ดังนี้ครับ

ระบบการย่อยอาหาร

• การย่อยอาหารเริ่มจากในปาก โดยเริ่มเมื่อเคี้ยวอาหาร

• เมื่อเริ่มเคี้ยวอาหาร สมองจะส่งสัญญาณให้ต่อมน้ำลายเริ่มผลิตน้ำลาย ซึ่งมีเอนไซม์สำหรับการย่อยอาหาร

• เมื่ออาหารเคลื่อนตัวผ่านไปยังกระเพราะอาหาร จะเจอน้ำย่อย ซึ่งช่วยย่อยให้อาหารมีขนาดเล็กลงไปอีก ซึ่งจะเรียกอาหารที่ถูกย่อยจนมีขนาดเล็กในกระเพราะว่า Chyme

• ณ ลำไส้เล็ก Chyme จะถูกผสมรวมกันกับ เอนไซม์ที่ถูกผลิตจากตับอ่อน และ น้ำดีที่ถูกผลิตจาก ตับ ทำให้อาหารมีขนาดเล็กลงไปอีก เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพื่อเข้าสู่กระแสเลือด

• สารอาหารส่วนใหญ่ จะถูกดูดซึม ช่วงที่เคลื่อนที่ผ่าน ลำไส้เล็ก สารอาหารเพียงส่วนน้อยจะถูกดูดซึม ณ ลำไส้ใหญ่

• ระยะเวลาในการดูดซึมทั้งหมดใช้เวลา 24 – 72 ชั่วโมง

ภาพจากเว็บไซต์ wholelifechallenge

แล้วน้ำที่เราดื่มไปทำระบบย่อยอาหารได้รับผลกระทบอะไร ?

ความเชื่อที่ว่าไม่ควรดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร

1. คำกล่าวอ้างที่ 1: แอลกฮอลล์ และ เครื่องดื่มที่มีความเป็นกรด ส่งผลเสียต่อน้ำลาย

ข้อเท็จจริง: ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ว่า แอลกฮอลล์ และ เครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดส่งผลเสีย ต่อการผลิตน้ำลาย และ ระบบดูดซึม

2. คำกล่าวอ้างที่ 2: เครื่องดื่มจะไปทำให้กรดในกระเพราะเจือจาง ส่งผลต่อการย่อยอาหาร

ข้อเท็จจริง: ระบบการผลิตน้ำย่อย สามารถปรับตัว เพิ่ม หรือ ลดสารคัดหลั่ง ให้ระบบย่อยทำงาน ณ ระดับสมดุลได้ ดังนั้น จึงไม่จริงที่ว่า การดื่มน้ำระหว่างมื้อจะลดประสิทธิภาพการย่อย

3. คำกล่าวอ้างที่ 3: ของเหลวที่เราดื่มระหว่างมื้อจะทำให้การอาหารเคลื่อนที่ไปยังระบบย่อยต่าง ๆ และ ออกจากร่างกาย เร็วขึ้น ทำให้การย่อย และ การดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายแย่ลง

ข้อเท็จจริง: ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนคำกล่าวอ้างนี้ โดยในระบบย่อยอาหาร ของเหลว จะเคลื่อนที่ผ่านระบบย่อยต่าง ๆ เร็วกว่าอาหาร โดยอาหารก็ยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วปกติ

ความเชื่อที่สนับสนุนว่าควรดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหาร

• จากข้อมูลพบว่า ของเหลว ที่เข้าสู่ร่างกายระหว่างมื้ออาหาร เช่น น้ำดื่ม หรือ น้ำซุป จะช่วยลดขนาดอาหารที่มีขนาดใหญ่ได้ดี ทำให้อาหารชิ้นใหญ่ ๆ นั้นเคลื่อนที่ผ่านหลอดอาหารไปยังกระเพาะอาหารได้ดีขึ้น

• ช่วยป้องกันอาการท้องอืด และ อาการท้องผูก

• ในระหว่างที่ระบบย่อยอาหารทำงาน กระเพาะอาหารจะหลั่ง น้ำ ออกมา พร้อม ๆ กับ กรด และ เอนไซม์ ที่ช่วยในการย่อย ดังนั้น น้ำในระบบย่อยจึงเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการทำให้ระบบดังกล่าวสมบูรณ์

• การดื่มน้ำระหว่างมื้อ ทำให้ รับประทานอาหารน้อยลง ลดโอกาสในการ กินอาหารมากเกินไป

• สำหรับคนที่เป็น กรดไหลย้อน การดื่มน้ำระหว่างมื้อมากเกินไปอาจจะส่งผลเสีย เนื่องจาก ปริมาณของน้ำ (ที่มากเกินไป) เมื่อ รวมกับอาหาร จะไปเพิ่มความดันในช่องท้อง ทำให้ เกิดอาการกรดไหลย้อนกำเริบได้

บทสรุป

การดื่มน้ำระหว่างมื้อแท้จริงแล้วไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกาย และ ระบบย่อย ที่จริงแล้วยังส่งผลดีด้วยซ้ำ ยกเว้น ในกรณีดื่มน้ำมากเกินไปซึ่งอาจทำให้ท้องอืด จริง ๆ แล้ว คำโบราณที่ว่า อย่ากินข้าวคำน้ำคำ แท้ที่จริงแล้ว น่าจะหมายถึง ความตั้งใจที่จะไม่ให้เด็กเล็ก ๆ ดื่มน้ำมากเกินไป จนเด็ก ๆ กินอาหารน้อย จนไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมากกว่าครับ แต่อย่างไรก็ตาม อะไรที่มากหรือน้อยเกินไปก็ไม่ดีทั้งนั้นแหละครับ ถ้าจะดื่ม ก็ดื่มแต่พอดีนะครับ

ภาพจากเว็บไซต์ washingtonpost

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.healthline.com/nutrition/drinking-with-meals#bottom-line