บทความครัวคุณต๋อยอยากบอก27 พ.ค. 63

มื้อหน้าทำอะไรกินดี? ข้าวเม่าคลุก

Share :

มื้อหน้าทำอะไรกินดี? ข้าวเม่าคลุก

ช่วงกักตัวอยู่บ้าน หยุดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อไม่ใช้ชีวิตจำเจ ครัวคุณต๋อยมีเมนูอร่อย มาให้คุณแม่บ้านได้ฝึกปรือฝีมือ วันไหนว่างจากงานบ้าน ลองหยิบสูตรข้าวเม่าคลุกไปทดลองทำดู หมดโรคระบาด เมนูนี้อาจเป็นแกงคั่วสร้างอาชีพก็ได้นะ

(ร้านข้าวเม่าแม่เอย ตั้งอยู่ที่ ศูนย์การค้ารามอินทรา กม.2 (ลาดปลาเค้า78) แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220 โทร.08-6821-2961)

ข้าวเม่าคลุก

ส่วนผสมน้ำมูนข้าวเม่า
หัวกะทิ 250 กรัม
น้ำมะพร้าว 200 กรัม
น้ำตาลทราย 200 กรัม
เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีทำ

เทหัวกะทิลงในหม้อ นำขึ้นตั้งบนเตา ใช้ไฟกลางค่อนข้างอ่อน รอให้หัวกะทิร้อน ใส่น้ำตาลทรายและเกลือ คนให้ส่วนผสมเข้ากันดี รอให้เดือด ใส่น้ำมะพร้าวอ่อน คนอีกครั้งให้ส่วนผสมเข้ากัน รอให้เดือดสักครู่ ปิดไฟยกลงจากเตา นำไปมูนข้าวเม่าทันที

ส่วนผสมเครื่องโรยหน้าข้าวเม่า
งาขาว 100 กรัม
น้ำตาลทราย 300 กรัม
วิธีทำ

ตั้งกระทะใช้ไฟอ่อน เทงาขาวลงคั่วให้เหลืองหอม ปิดไฟ ตักขึ้นจากกระทะ พักให้คลายร้อน นำงาไปโขลกให้ละเอียดดีตักใส่ภาชนะพักไว้

ตักงาขาวคั่วโขลกละเอียดใส่อ่างผสม ตามด้วยน้ำตาลทราย คนให้ส่วนผสมเข้ากันดี ก็จะได้เครื่องโรยหน้าข้าวเม่า

ส่วนผสมข้าวเม่าคลุก
ข้าวเม่า 1 กิโลกรัม 1 กิโลกรัม
เนื้อมะพร้าวทึนทึกขูดขาว 500 กรัม
น้ำต้มใบเตย 2 ขีด
น้ำมูนข้าวเม่าที่เตรียมไว้
น้ำมูนข้าวเม่าที่เตรียมไว้
กล้วยไข่ปริมาณ ตามชอบ
เครื่องโรยหน้าข้าวเม่าคลุกปริมาณ ตามชอบ
วิธีทำ

เทข้าวเม่าลงอ่างผสม ตักน้ำมูนที่เตรียมไว้ราดลงในอ่างผสม เคล้าให้ส่วนผสมเข้ากันดี จากนั้นตักน้ำต้มใบเตยราดลงตาม เคล้าให้ส่วนผสมเข้ากันดี

ปิดฝาภาชนะ รอให้เมล็ดข้าวเม่าดูดน้ำและอิ่มตัว ใช้เวลาประมาณ 10 นาที เปิดฝาอ่างผสม โรยเนื้อมะพร้าวทึนทึก เคล้าให้ส่วนผสมเข้ากันดีก็จะได้ข้าวเม่าคลุก

ตักข้าวเม่าใส่ภาชนะเสิร์ฟ ปอกกล้วยไข่วางข้างจาน โรยหน้าด้วยมะพร้าวที่เตรียมไว้ และตามด้วยเครื่องโรยหน้าข้าวเม่าคลุก พร้อมจัดเสิร์ฟ

กลับมาเรื่องอาหารการกิน ประเทศไทยขึ้นชื่อระดับโลก เรื่องอาหาร และ การบริการ หากต้องให้ลูกค้ารอ นั่นถือเป็นเรื่องผิดปกติวิสัยเอามาก ๆ เราจึงอาจจะไม่ค่อยเคยชินกับการรอรับประทานอาหารเท่าไหร่ หรือ อาจจะเป็นเพราะอากาศบ้านเราร้อนและชื้น(มาก) แตกต่างจากอากาศในประเทศที่มีหน้าหนาวแบบจริงจัง เช่น ญี่ปุ่น การยืนรอท่ามกลางอากาศร้อน ๆ ในประเทศไทย เพียงเพื่อกิน ก๋วยเตี๋ยว 1 ชาม จึงเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเห็น

ในประเทศญี่ปุ่น ร้านอาหารที่มีคิวยาว จนลูกค้าต้องยืนรอ 2-3 ชั่วโมงท่ามกลางหิมะ หรือ แดดร้อนเปรี้ยง ๆ จริง ๆ แล้วเค้าก็สามารถขยายร้านได้ จะได้รับรองลูกค้าได้มากขึ้น แต่ร้านจำนวนมากกลับไม่ยอมทำแบบนั้น เหตุผลหลัก ๆ น่าจะเป็นเพราะร้านต้องการรักษาคุณภาพของอาหารให้ดีที่สุดครับ

ในระยะหลัง ๆ ผู้เขียน “เริ่ม” เห็น การรอที่มากขึ้น และการ “รอ” ที่ลดลงอย่างมากในประเทศไทย ทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน (บางครั้งนอกจากไม่รอแล้ว ลูกค้ายังแทบไม่ต้องขยับตัวเลยครับ) เรียกได้ว่า มีดำก็ต้องมีขาว มี รอ ก็ต้องมี เร็ว ขี้เกียจออกก็ใช้แอพฯ เอา

คุณค่าของอาหารถูกให้ค่าต่างกันตามแต่ละบุคคลครับ บางคน คุณภาพอาหารสำคัญที่สุด ให้รอนานแค่ไหนก็ยอม สำหรับบางท่าน คุณค่าคือ ความสะดวกสบายครับ

ในความเห็นของผู้เขียน อาหารไทยนั้น ถูกหล่อหลอมมาจากวัฒนธรรมทางการเกษตร ทำเกษตรด้วยกัน กินด้วยกัน ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ที่ไหนก็มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ การ “รอเพื่อกิน” สำหรับคนไทยจึงอาจจะไม่ค่อยคุ้นชินเท่าไหร่

เมื่อสังคมเจริญมากขึ้น การกิน จึงมิใช่กิจกรรมเพียงเพื่ออิ่ม สำหรับคนบางกลุ่ม การเสพรสชาติอาหาร หรือ การดื่มดำบรรยากาศในร้านอาหาร จึงเกิดขึ้น ไม่ต่างจากการเสพงานศิลป์

แล้วคุณผู้อ่านคิดอย่างไรกันบ้างครับ…

มีร้านไหนในประเทศไทยที่คุณผู้อ่านคิดว่าคู่ควรกับการ “รอ” ไม่ว่าจะนานแค่ไหนกันบ้างครับ ถ้ามีแนะนำครัวคุณต๋อยกันบ้างนะครับ