เคล็ดลับก้นครัวเคล็ดลับอื่นๆ 27 ส.ค. 64

กรดโฟลิกในอาหาร

Share :

กรดโฟลิกในอาหาร

เคล็ดไม่ลับกับครัวคุณต๋อย ตอน “กรดโฟลิกในอาหาร”

กรดโฟลิก (โฟเลต) หรือ วิตามินบี 9 วิตามินเอ็ม หรือ วิตามินบีซี จัดอยู่ในกลุ่มของ วิตามินบีรวม มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญโปรตีน มีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยในการสร้างกรดนิวคลีอิก และมีความจำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์

แหล่งที่พบกรดโฟลิกตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้มเช่น คะน้า ปวยเล้ง บล็อกโคลี่ ถั่วลันเตา แครอท แคนตาลูป ฟักทอง อะโวคาโด ถั่ว เมล็ดทานตะวัน ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ลูกเดือย

ประโยชน์ของกรดโฟลิก ในทุกเพศทุกวัย โฟลิกจะช่วยการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายใช้น้ำตาล และกรดอะมิโนผ่านทางขบวนการระดับเซลล์ป้องกันเบาหวาน

1 ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยบำรุงร่างกายและผิวพรรณ ช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอ

2 ช่วยตับให้ทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยเผาผลาญโปรตีน ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มทีและยังช่วยผลิตน้ำดี ทำให้การย่อยไขมัน และการดูดซึมไขมันดีขึ้น โดยเฉพาะกรดไขมันที่จำเป็นและวิตามินเอ ดี อี เค

3 ช่วยป้องกันการพิการของเด็กทารกแรกเกิด และช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร

4 ช่วยลดระดับของกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีนในเลือด และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้

5 ขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือ 180 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรเพิ่มขนาดเป็น 2 เท่า ส่วนหญิงให้นมบุตรควรรับประทาน 280 ไมโครกรัมในช่วง 6 เดือนแรก และ 260 ไมโครกรัมในช่วง 6 เดือนหลัง สำหรับผู้ที่ป่วยก็ควรทานโฟลิกเสริม ช่วยเสริมแอนติบอดี้ในร่างกาย

#ข้อควรระวัง

การรับประทานกรดโฟลิกในปริมาณมากอาจมีผลกระทบต่อยาต้านมะเร็งบางชนิด และอาจทำให้คนไข้โรคลมชักที่รับประทานยาฟีโนโทอินอยู่เกิดอาการชักได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง : ประโยชน์ อาหาร เคล็ดลับ