บริโภคต้นหอมอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย


เคล็ดไม่ลับกับครัวคุณต๋อย ตอน “บริโภคต้นหอมอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย”
1 ก่อนรับประทานต้นหอม ควรล้างกาบใบและโคนของต้นหอมให้สะอาด โดยการฉีกแยกล้างอย่างละใบ แช่ในน้ำส้มสายชู อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก เพราะส่วนใหญ่ผักที่มีกาบใบอย่างต้นหอม กะหล่ำปลี หรือผักกาด มักจะมีเศษดิน เศษปุ๋ย และสารเคมีจากยาฆ่าแมลงสะสมอยู่มาก
2 การนำต้นหอมแช่ในน้ำส้มสายชูทิ้งไว้ นอกจากเป็นการช่วยล้างสารเคมีแล้ว ยังช่วยให้รับประทานต้นหอมง่ายขึ้น เพราะน้ำส้มสายชูจะช่วยให้ความเผ็ดร้อนหายไป และมีรสหวานมากขึ้น แนะนำให้รับประทานแบบสดจะดีกว่าแบบปรุงสุกแล้ว เพราะวิตามินซี น้ำมันหอมระเหย และสารออกฤทธิ์ต่างๆ ยังไม่ถูกทำลายจากความร้อน
3 การรับประทานให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ต้องรับประทานตั้งแต่ส่วนสีขาวโคนต้นถึงใบสีเขียวอ่อน จะมีสารสำคัญอยู่มากกว่าส่วนอื่น
ข้อควรระวังในการรับประทานต้นหอม
ป่วยที่รับประทานยากลุ่มวาร์ฟาริน (ยาป้องกันการอุดตันของเลือด) เนื่องจากต้นหอมมีวิตามินเคปริมาณมาก อาจส่งเสริมการทำงานของยาดังกล่าว ทำให้เลือดเป็นก้อน อาจเกิดการอุดตันในเส้นเลือดได้ และควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะต้นหอมมีรสร้อน อาจทำให้มีอาการเสียดท้องหรือแสบร้อนกลางอกในบางรายได้
เรื่องน่ารู้พืชตระกูลต้นหอม
ต้นหอมกับกุยช่าย เป็นพืชวงศ์เหมือนกัน แต่คนละชนิด แต่ลักษณะใบกุยช่ายจะแบนกว่า มีสารสำคัญที่ชื่อว่าอัลลิซินเหมือนกัน มีธาตุเหล็ก วิตามินเอ แคลเซี่ยม และฟอสฟอรัสสูง ช่วยรักษาอาการหวัด เพิ่มน้ำนม ลดความดันโลหิต บำรุงกระดูก ประโยชน์ก็ไม่ต่างจากต้นหอม สามารถรับประทานทดแทนกันได้
ต้นหอมญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า เนกิ (Negi) จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับต้นหอมไทย แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า รสชาติหวานและกลิ่นหอม กลิ่นไม่ฉุนเท่าของไทย ส่วนเรื่องของประโยชน์นั้น อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายเหมือนกัน