เคล็ดลับก้นครัวเคล็ดลับอื่นๆ 19 เม.ย. 66

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสับปะรด

Share :

เคล็ดไม่ลับกับครัวคุณต๋อย ตอน “เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสับปะรด”

สับปะรดมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า โบรมิเรน มีสรรพคุณในการย่อยสลายโปรตีน จึงนิยมนำไปหมักกับเนื้อสัตว์ต่างๆ เพื่อให้เนื้อนุ่มน่ากิน ตำราแพทย์แผนโบราณ แนะนำให้กินสับปะรดหลังกินอาหารเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของกระเพาะ ลดอัตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระเพาะ และไม่ทำให้แน่นท้องหลังกินอาหาร

แกนสับปะรด หรือไส้กลางสับปะรด คือแหล่งสะสมสารอาหารของสับปะรด  โดยเฉพาะเอนไซม์ บรอมีเลน ที่มีอยู่ในทุกส่วนของสับปะรด แต่จะพบในส่วนแกน มากที่สุด ซึ่งสารนี้มีประโยชน์มากมาย คือ มีฤทธิ์ช่วยย่อยอาหาร ช่วยสมานแผลและลดการอักเสบของกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะเอนไซม์บรอมีเลนมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้ออ่อน ๆ คอยทำลายแบคทีเรียที่ไม่มีประโยชน์ ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ มีกากใยมากจึงช่วยแก้ท้องผูกได้ แต่ก็ไม่ควรทานมากไป เพราะอาจจะทำให้ท้องเสีย

-สารบรอมีเรนยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา แก้นิ่ว ป้องกันการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์อัมพาต เพราะเอนไซม์บรอมีเลนจะไปช่วยลดการ เกาะกันเป็นลิ่มเลือดของเกล็ดเลือด เพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อต้านโรคมะเร็ง เพราะบรอมีเลนจะทำให้เม็ดเลือดขาวหลั่งสารไซโตไคน์ ที่ทำให้เม็ดเลือดขาวกำจัดเซลล์มะเร็งได้ ช่วยลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ กระตุ้นฮอร์โมนเพศชาย ช่วยเพิ่มระดับเทสโทสเตอโรน

– บรรเทาโรคเกาต์ได้ โดยทานสับปะรด 1/4 ผล (ขนาดเล็ก) วันละ 2-3 ครั้ง หลังอาหาร 1 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อให้เอนไซม์บรอมีเลนช่วยต้านการอักเสบ ลดความเจ็บปวดจากการอักเสบ

 ข้อควรระวังในการกินสับปะรด

 -ไม่ควรทานตอนท้องว่าง เพราะเป็นผลไม้ที่มีเอนไซม์มาก มีรสเปรี้ยว ทานแล้วอาจระคายเคืองกระเพาะอาหาร  และไม่ควรทานสับปะรดดิบ เพราะมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง และก็ไม่ควรทานสับปะรดที่สุกเกินไป เพราะอาจเริ่มเน่าเสียแล้วทำให้ท้องเสียได้