เคล็ดลับก้นครัวเคล็ดลับอื่นๆ 8 ก.ค. 65

โกโบ

Share :

เคล็ดไม่ลับกับครัวคุณต๋อย ตอน “โกโบ”

1 โกโบมีลักษณะกรุบกรอบ และมีรสหวานอ่อนๆ แต่ก็มีกลิ่นฉุน แล้วก็อาจจะขื่นคอบ้าง ซึ่งสามารถลดความขื่นได้โดยการหั่นโกโบเป็นชิ้นเล็กๆ และแช่น้ำทิ้งไว้ 5 – 10 นาที  

2 นำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย อาทิ ชาโกโบ โกโบนึ่ง  โกโบตุ๋น, โกโบหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ทอดกับสาเก ซีอิ้วขาว มิริน น้ำมันงาอย่างเผ็ด, สลัดโกโบย่าง

3 เคล็ดลับในการนำโกโบไปปรุงอาหารก็คือ อย่าปอกเปลือกก่อนนำไปปรุง เพราะเปลือกเป็นส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารมาก ดังนั้นเพียงแค่แปรงโกโบเบาๆ เพื่อปัดฝุ่นดินออกไปขณะที่เปิดให้น้ำไหลผ่านด้วย จึงจะเป็นวิธีเตรียมโกโบที่ดีที่สุด

4 รากโกโบ มีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามิน C และ E  แร่ธาตุ ได้แก่ โพแทสเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระโพลีฟีนอล แคลเซียม ธาตุเหล็ก อินนูลิน ฟอสฟอรัส โครเมียม และอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และมีสารออกฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ป้องกันโรคข้ออักเสบ ช่วยกำจัดกรดยูริค ป้องกันโรคเก๊าท์ และขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยในการขับปัสสาวะ การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ ลดความดันโลหิต โรคในระบบทางเดินอาหาร  และโดยเฉพาะการฟอกเลือดให้สะอาด เช่น การกำจัดพยาธิในเลือด ขับสารพิษและโลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว หรือสารหนูในเลือด กำจัดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้หวัด และโรคผิวหนัง ต่างๆ เช่น สิว ผด ผื่นคัน โรคผิวหนังอักเสบ  โรคสะเก็ดเงิน   นอกจากนี้ โกโบ ยังประกอบด้วย อินูลิน มากถึง 27 – 45% และมีโครเมียม ที่สามารถช่วยกันลดการดูดซึมน้ำตาล ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้