เคล็ดลับก้นครัวเคล็ดลับอื่นๆ 23 มิ.ย. 66

ข้อควรระวังในการดื่มน้ำมะพร้าว

Share :

เคล็ดไม่ลับกับครัวคุณต๋อย ตอน “ข้อควรระวังในการดื่มน้ำมะพร้าว”

น้ำมะพร้าว เครื่องดื่มดับกระหาย  อีกหนึ่งผลไม้ยอดนิยมของทั้งชายไทยและชาวเทศ นอกจากนี้ยังมีคุณค่าต่อร่างก่าย แต่ถ้าดื่มมากเกินไปอาจเกิดโทษได้เช่น ดื่มน้ำมะพร้วจึงต้องควรระวังให้มาก

– น้ำมะพร้าวไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต เนื่องจากในน้ำมะพร้าวนั้นมีสารที่ช่วยขับปัสสาวะ ซึ่งหากถ้าร่างกายขับปัสสาวะบ่อยๆ หรือมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคไตมาก อาจจะหัวใจวายได้ ผู้ป่วยโรคไตจึงไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าวเกินสัปดาห์ละ 2 ลูก หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภค

– น้ำมะพร้าวไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน น้ำมะพร้าวมีประโยชน์ แต่จัดว่าน้ำตาลสูง แม้จะเป็นน้ำตาลธรรมชาติ  โดยน้ำมะพร้าว 1 ลูก ปริมาณ 282 กรัม มีปริมาณน้ำ 94 กรัม น้ำตาลฟรุกโตส 8.1 กรัม น้ำตาลกลูโคส 8.5 กรัม น้ำตาลซูโครส 4.0 กรัม รวมเท่ากับน้ำตาลถึง 5.1 ช้อนชา เลยทีเดียว  ผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนดื่มน้ำมะพร้าว เพื่อหาปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกาย

– น้ำมะพร้าวไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ เนื่องจากในน้ำมะพร้าวนั้นมีโพแทสเซียมค่อนข้างสูง อาจจะไปสร้างปัญหาเกี่ยวกับหัวใจได้ ควรดื่มไม่เกิน 1- 2 ลูก ต่อสัปดาห์ เช่นเดียวกันกับผู้ป่วยความดันโลหิต ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานมะพร้าวหรือมะพร้าวแปรรูป

– ผู้ที่ต้องเข้ารับการตัดต่างๆ ควรหยุดทานน้ำมะพร้าว อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการเข้าผ่าตัด

– สตรีที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ที่รับประทานอาหารครบ 5 หมู่หลัก ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำมะพร้าวทุกวัน และไม่ควรดื่มเกินครั้งละ 1 ลูก เนื่องจากในน้ำมะพร้าวอ่อนยังมีสารไฟโตเอสโตรเจนในปริมาณที่สูง ไม่ต่างจากถั่วเหลือง ซึ่งมีการศึกษาถึงผลของการกินสารสกัดจากถั่วเหลืองที่มีสารไฟโตเอสโตรเจนสูง ในสตรีวัยหมดประจำเดือน เป็นเวลานาน 5 ปี พบว่ามีโอกาสเพิ่มการเกิดโรคเยื่อบุมดลูกหนาตัวผิดปกติ ดังนั้นการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนที่มีสารไฟโตเอสโตรเจนในกลุ่มสตรีที่หมดประจำเดือนมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเยื่อบุมดลูกหนาผิดปกติได้เช่นกัน  ในกรณีที่ดื่มน้ำเต้าหู้ร่วมด้วยก็ควรหลีกเลี่ยงการดื่มพร้อมกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ปริมาณสารไฟโตเอสโตรเจนในร่างกายสูงเกินไป