เคล็ดลับก้นครัวเคล็ดลับอื่นๆ 20 ก.พ. 66

วิธีลดความเค็มในการกินอาหาร

Share :

เคล็ดไม่ลับกับครัวคุณต๋อย ตอน “วิธีลดความเค็มในการกินอาหาร”

ปริมาณเกลือที่เรากินนั้น ไม่ควรเกิน 5 กรัม/วัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม/  คนไทยกินเกิน 2 เท่า) หากกินเค็มจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน จนโซเดียมสูงเกินความต้องการของร่างกาย  จะทำให้เกิดการคั่งของเลือด และน้ำในอวัยวะต่าง ๆ ทำให้แขนขาบวม เหนื่อยง่าย ทำให้ความดันโลหิตสูง  หัวใจวายได้ง่ายขึ้น  และทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น   

วิธีลดความเค็มในการกินอาหาร เพื่อลดการบริโภคโซเดียมที่แฝงมาในอาหารแต่ละวัน

1  ชิมก่อนปรุงทุกครั้ง  โดยเฉพาะอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว เกาเหลา ก๋วยจั๊บ หรือสุกี้  ที่ปรุงรสมาให้อยู่แล้ว หากเติมเครื่องปรุงอีก จะทำให้เค็มขึ้น และรับโซเดียมเพิ่มมากขึ้น

2 อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ที่ระบุปริมาณโซเดียมก่อนเลือกซื้อ  ควรเลือกที่มีปริมาณโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค  และไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม หรือ 1 ช้อนชา

3 ลดการกินอาหารแปรรูป เพราะเป็นอาหารที่ใส่เกลือจำนวนมาก เพื่อให้อยู่ได้นานขึ้น  ได้แก่ ไส้กรอก แฮม  เบคอน  ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักดอง เต้าหู้ยี้ กะปิ ปลาร้า หมูแผ่น กุนเชียง เป็นต้น

4 ลดการกินอาหารกึ่งสำเร็จรูป  หากจำเป็นต้องกิน ควรใส่ผงเครื่องปรุงให้น้อยที่สุด อย่าใส่จนหมดซอง เพื่อลดความเข้มข้นของโซเดียมที่มากับเครื่องปรุง

5 ลดน้ำจิ้ม เช่น น้ำจิ้มลูกชิ้น น้ำจิ้มซีฟู้ด น้ำจิ้มสุกี้ โชยุ รวมถึงซอสมะเขือเทศ มักมีส่วนผสมของโซเดียมสูง หากต้องเพิ่มรสชาติให้อาหาร ควรแตะอาหารกับน้ำจิ้มเพียงเล็กน้อย แค่พอให้รู้รส

7 หลีกเลี่ยงอาหารจานด่วน ที่ส่วนใหญ่มีการปรุงรสค่อนข้างจัด เพราะมักทำเตรียมไว้ในปริมาณมาก  จึงจำเป็นต้องใช้โซเดียมสูงเพื่อให้เก็บรักษาได้นานขึ้น

8 หลีกเลี่ยงการกินน้ำซุป หรือกินน้อยลง เพราะน้ำซุปมีปริมาณโซเดียมสูงมากจากเครื่องปรุงรสหรือซุปก้อน